อาหารเสริมลดน้ำหนัก ตัวไหนช่วยอะไร ช่วยได้จริงมั้ย?

ปัจจุบันนี้ มียาลดน้ำหนักหลายตัวที่ได้รับการรับรองจาก US FDA แต่ต้องดูแลและจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ตัวที่ผ่านการรับรองแล้ว ได้แก่

[1] Phentermine/Topiramate - รับประทาน
[2] Orlistat - รับประทาน
[3] Lorcaserin - รับประทาน
[4] Bupropion/Naltrexone- รับประทาน
[5] Liraglutide (ยาใหม่) - ฉีดใต้ชั้นผิวหนัง

แต่เราทราบหรือไม่ว่า กว่าจะมีการรับรองว่ายาใด สำหรับยาที่สามารถใช้เป็นยาลดน้ำหนักได้นั้น จะต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ

(1) ยานั้นต้องสามารถลดน้ำหนักได้อย่างน้อย 5 % ของน้ำหนักตั้งต้น (Baseline body weight) โดยที่ในการวิจัยนั้น ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่ลดลงจากการใช้ยา ต้องแตกต่างจากการให้ยาหลอกด้วย

(2) มีการวิจัยที่ให้ผลตรงกันอย่างน้อย 2 งานวิจัยในการใช้ยานั้นเพื่อลดน้ำหนัก

ด้วยเกณฑ์ใน 2 ข้อนี้ ทำให้ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆไม่สามารถยกระดับขึ้นมาเทียบเท่ากับยาลดน้ำหนักได้

อย่างไรก็ตามเราก็มักจะพบว่า มีการเคลมสรรพคุณของบรรดาอาหารเสริมต่าง ๆ ว่าลดน้ำหนักได้ดีและลดได้ผลตามท้องตลาดทั่วไป ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ วันนี้หมอหล่อคอเล่า จึงมีบทสรุปเกี่ยวกับอาหารเสริมเพื่อลดน้ำหนักที่เพิ่งรีวิวมาล่าสุด (June 2016) จาก National Institutes of Health (NIH) มาให้ดูกัน ว่าตัวไหนที่พอจะมีข้อมูลจากงานวิจัยรองรับว่าได้ผลบ้าง ? มาดูกันเลย

[1] สารสกัดจากชาเขียว (Green tea extract) - จากหลายการศึกษา สรุปว่า อาจจะได้ผลบ้างเล็กน้อยในการลดน้ำหนัก (Possible modest effect on body weight) ค่อนข้างปลอดภัย แต่อาจมีผลข้างเคียง คือ ท้องผูก ไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เพิ่มความดันเลือดได้ เป็นต้น ขนาดที่ใช้ให้ได้ผล ต้องประมาณ 500 - 750 mg/day และใช้นานกว่าจะเห็นผล (3 เดือนขึ้นไป)

[2] คาเฟอีนจากกาแฟหรือเมล็ดกัวราน่าสกัด (Caffeine from coffee or Guarana Ext.
) - สรุปว่า อาจจะได้ผลบ้างเล็กน้อยในการลดน้ำหนัก (Possible modest effect on body weight) ขนาดที่ใช้ให้ได้ผล ต้องประมาณ 100 mg/day และใช้นานกว่าจะเห็นผล ระวังผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ใจสั่น มือสั่น คลื่นไส้จากฤทธิ์คาเฟอีน **อาหารเสริมที่มีคาเฟอีนมักมีสารอื่น ๆ ร่วมด้วยเสมอ ไม่ค่อยมีเเค่คาเฟอีนเดี่ยว ๆ**

[3] สารสกัดจากเมล็ดกาแฟสีเขียว (Green coffee bean Ext.) -สรุปว่า อาจจะได้ผลบ้างเล็กน้อยในการลดน้ำหนัก (Possible modest effect on body weight) กลไกสำคัญ ช่วยยับยั้งการสร้างเซลล์ไขมัน และ ช่วยการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายให้ดีขึ้น แต่วิจัยที่ทำเกี่ยวกับตัวนี้ยังมีความน่าเชื่อถือน้อยอยู่ ปริมาณที่ใช้ค่อนข้างสูง (ประมาณ 100-200 mg/day) หากหวังผลลดน้ำหนักเเละต้องใช้ติดต่อกันนาน อาการข้างเคียงที่ต้องระวัง ได้แก่ ปวดศีรษะและติดเชื้อในทางเดินสัสสาวะ

[4] สารสกัดจากเมล็ดถั่วขาว (White kidney bean Ext.) - ออกฤทธิ์สำคัญ คือ ยับยั้งการดูดซึมน้ำตาล โดยการ Block Alpha - Amylase enzyme ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลน้อยลง ผลสรุปว่า อาจจะได้ผลบ้างเล็กน้อยในการลดน้ำหนัก (Possible modest effect on body weight) ผลข้างเคียงยังมีอยู่บ้าง เช่น ท้องผูก ท้องอืด มีแก๊สมากขึ้น ปวดศีรษะ เป็นต้น ปริมาณที่ใช้ค่อนข้างสูง (ประมาณ 500 - 3,000 mg/day) หากหวังผลลดน้ำหนักเเละต้องใช้ติดต่อกันนานประมาณ 3 เดือน ขึ้นไป เช่นเดียวกัน

สำหรับตัวอื่นๆ

สารสกัดผลส้มแขก (HCA) การใช้ในระยะสั้นเห็นผลเล็กน้อย แต่ในระยะยาวยังไม่รู้ มีอาการข้างเคียงสำคัญ คือ ระคายเคืองทางเดินอาหารบ้าง
L_Carnitine ผลยังไม่ชัดเจน การศึกษาในคนยังมีน้อย
CLA ผลยังไม่ชัดเจน ถ้าจะกินเลือกให้ถูก form
Chitosan ไม่ได้ผล
Chromium ผลยังไม่ชัดเจน
อื่น ๆ นอกจากนี้ (เช่น Fucoxanthin, Hodia, Capsaicin, etc) ผลยังไม่ชัดเจน การศึกษายังน้อย

ห้ามใช้ คือ สารในกลุ่ม Ephedra alkaloid + caffeine combinations เพราะว่า ผลข้างเคียงมาก อาจถึงแก่ชีวิตได้

สิ่งที่ดีที่สุดและได้ผลที่สุดในการลดน้ำหนักแบบปลอดภัย ก็คือ #การควบคุมการกินอาหารให้เหมาะสมกับตัวเองและการออกกำลังกายที่เหมาะสม พร้อม ๆ กับ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใหม่ นั่นเองครับ หากอ้วนมาก ๆ หรือ อ้วนและมีโรคร่วม (เบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง โรคหัวใจ หยุดหายใจเวลากลางคืน เป็นต้น) ก็ควรปรึกษาแพทย์ในการรักษาเพื่อให้ได้ผลที่สุดและปลอดภัยที่สุดนั่นเอง


อาหารเสริมลดน้ำหนัก ตัวไหนช่วยอะไร ช่วยได้จริงมั้ย?

ที่มา>>Facebook>>หมอหล่อคอเล่า 


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์