ทำไมถึงไม่ควรชั่งน้ำหนัก!!?

ทำไมถึงไม่ควรชั่งน้ำหนัก

เป็นคำถามยอดนิยมค่ะ ว่าควรจะสนใจตัวเลขบนตาชั่งหรือไม่ วันนี้เลยจะมาบอกกันทีละปัจจัยเลยว่าน้ำหนักของเราขึ้นลงด้วยสาเหตุใดได้บ้าง
.
ไขมัน
.
โอเค อย่าพึ่งคิดว่าก็แหงสิ น้ำหนักขึ้นก็ต้องแปลว่าไขมันเพิ่มอยู่แล้ว
แต่ในความเป็นจริง การเพิ่มหรือลดไขมันเป็นไปอย่างไม่ฮวบฮาบอย่างที่เราคิดหรอกค่ะ อย่างคนที่น้ำหนักมากๆ การลดประมาณ 1-2 กิโลต่ออาทิตย์เนี่ยอาจจะเป็นไปได้นะคะ แต่ก็ค่อนข้างสุดขั้วไปนิด แต่สำหรับคนที่น้ำหนักน้อยนี่ ไขมันลดอาทิตย์ละ 0.25 กิโลกรัมก็เก่งแล้วค่ะ
.
สำหรับคนที่พยายามทำให้น้ำหนักขึ้น การเพิ่มไขมันก็เหมือนกันค่ะ ไม่ได้เพิ่มกันง่ายๆ การเพิ่ม 1-2 กิโลกรัมของไขมันต่ออาทิตย์ จะต้องอาศัยการกินเพิ่มจากที่ใช้ไป 3500-10,500 calories ต่ออาทิตย์ ซึ่งก็เท่ากับ 500-1500 calories ต่อวัน
ที่เขียนมาเนี่ยก็เพื่อที่จะบอกว่า การที่น้ำหนักขึ้นๆลงๆใน 2-3วันนี้ไม่ใช่เพราะไขมันขึ้นลงรวดเร็วขนาดนั้นนะคะ เพราะมีปัจจัยอย่างอื่นด้วย
.
กล้ามเนื้อ
ก็เหมือนไขมันนั่นแหละค่ะ ขึ้นช้าลงช้า ไม่ใช่ข้ามวันอย่างที่หวังหรอก ต่างกันก็ตรงที่ การที่ดรามีกล้ามเพิ่มขึ้นจะทำให้ไขมันลดลงได้เร็วขึ้น เพราะว่า กล้ามเนื้อประกอบไปด้วย calories ที่เผาผลาญได้ 500 calories ซึ่งคือโปรตีน ด้งนั้นเราต้องคำนึงถึงด้วยเวลาเรากินอาหารและออกกำลังกายว่า เรากินเพื่อมีแรงเผาผลาญไขมัน ไม่ใช่ไม่กินแล้วร่างกายไปดึง calories จากกล้ามเนื้อมาทำให้น้ำหนักลดซึ่งไม่มีประโยชน์เพราะว่าเราไม่ได้เสียไขมัน เราเสียโปรตีนในกล้ามเนื้อไปต่างหาก
.
จำไว้ว่าน้ำหนักที่ลดเร็ว ไม่ได้แปลว่าดีเสมอไปนะคะ
.
อาหารที่คั่งค้างในกระเพาะ

นอกจากไขมันและกล้ามเนื้อที่ทำให้น้ำหนักเราขึ้นลงแล้ว อาหารที่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะ (stomach content) วันต่อวันก็ทำให้ตัวเลขตาชั่งขึ้นๆลงๆได้ด้วยค่ะ
.
ง่ายๆก็คือ มีอาหารคั่งค้างในกระเพาะหรือลำไส้มากเท่าไหร่ จะเป็นเพราะไม่ย่อย หรือ เหลือค้างหลังจากย่อยก็ตามมีผลทั้งสิ้นต่อน้ำหนักตั
.
ถ้าเทียบกันก็เหมือนกับว่า การกินโปรตีนเชคก็จะช่วยให้ไม่ค่อยมีกากหรือของเหลือในกระเพาะอาหารมากมายเท่ากับการกินผักที่มีกากใยมาก หรือเนื้อสัตว์ที่ย่อยยากกว่า ซึ่งจะทำให้น้ำหนักมาก แต่ถ้าเทียบก้นระหว่างการกินอาหารเป็นชิ้นเป็นอัน กับการกินโปรตีนเชค การกินอาหารมีประโยชน์มากมายกว่านัก แต่อาจจะทำให้เราน้ำหนักมากกว่าเพราะกากที่อยู่ในกระเพาะและลำไส้
น้ำก็เหมือนกัน ถ้าเราดื่มน้ำมากๆ เราก็จะตัวหนักจากน้ำหนักของน้ำในกระเพาะ แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย
.
คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตนี่ต้วดีเลยค่ะที่จะทำให้น้ำหนักขึ้นๆลงๆ เพราะคาร์โบไฮเดรตจะถูกสะสมเก็บไว้ในกล้ามเนื้อ และแถมยังหนักกว่าไขมันอีกถึงแม้ว่าจำนวนcalorie จะไม่เท่าไขมันก็ตาม (คาร์โบไฮเดรต 1 กรัมมี 4 kcal ในขณะที่ไขมัน 1 กรัมมี 9 kcal) เพราะเวลาที่คาร์โบไฮเดรตสะสมในกล้ามเนื้อ จะสะสมอยู่ในรูปของไกลโคเจน และจะอุ้มน้ำเป็นปริมาณ 3 เท่าของไกลโคเจน 1 กรัม ซึ่งก็จะทำให้น้ำหนักขึ้นข้ามคืนเลยทีเดียว
.
คือถ้าเมื่อคืนไปกินพาสต้ามาอย่างหนักแล้วน้ำหนักขึ้น ก็อย่าพึ่งใจเสียว่าน้ำหนักนั้นคือน้ำหนักไขมันนะคะ อาจจะแค่คาร์โบไฮเดรตที่อุ้มน้ำ แต่ถ้ากินบ่อยๆไยมันก็มาได้นะคะ
.
โซเดียม
.
ของเค็มก็คล้ายๆคาร์โบไฮเดรตนะคะ หลักการเดียวกัน อุ้มน้ำทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้ค่ะ
.
แต่การที่ตัวจะบวมน้ำแค่ไหนขึ้นอยู่กับนิสัยการกินของเราด้วยนะคะ สมมติว่าเราปกติกินโซเดียม 2,000 mg ต่อวัน แล้วอยู่ๆวันนึงเรามากินโซเดียม 3,000 mg เพราะเราไปกินข้าวเกรียบเค็มๆ เราก็จะบวมน้ำ
แต่ถ้าปกติเรากินของเค็มที่มีโซเดียมอยู่แล้ว 3,000 mg เราก็จะไม่บวมเท่าไหร่ เพราะเรากินอยู่แล้วเป็นปกติ ดังนั้น เวลาจะหาสาเหตุที่น้ำหนักขึ้น สังเกตการกินโซเดียมว่าเพิ่มขึ้นจากปกติหรือไม่ เราบวมน้ำอยู่รึเปล่า
.
Creatine

.
เป็นอาหารเสริมที่นิยมกันมากโดยเฉพาะในหมู่นักกีฬาเพาะกาย เพราะให้พลังและช่วยสร้างความแข็งแรง
creatine มีลักษณะคล้าย ไกลโคเจน คือจะถูกเก็บไว้ในกล้ามเนื้อและอุ้มน้ำเอาไว้ จริงๆแล้วเป็นข้อดีนะคะ เพราะจะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขยายตัวและ เร่งกระบวนการสร้างโปรตีนที่เกิดขึ้นในเซลล์กล้ามเนื้อ และการสื่อสารระหว่าเซลล์ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะมีข้อเสียคือทำให้น้ำหนักเราเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
.
ฮอร์โมนเครียด (cortisol) และความเครียดของเรา
เรื่องนี้เคยเขียนไปหลายครั้งหลายคราแล้ว และก็เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักขึ้นที่น่ารำคาญที่สุด เพราะยิ่งเราพยายามจะไม่เครียด บางทียิ่งทำให้เราเครียดหนักขึ้นไปอี
.
ฮอร์โมน Cortisol นี้จะทำให้เรามีอาการบวมน้ำ นอกเหนือจากที่ขจัดไขมันไม่ได้แล้วเนื่องจากร่างกายอยู่ในภาวะเครียด การออกกำลังกายที่หนักเกินไป การนอนไม่พอ ความเครียดจากการงาน สิ่งเหล่านี้มีส่วนที่ทำให้ฮอร์โมนเครียดสูงขึ้นทั้งสิ้น
.
สรุปแล้ว น้ำหนักเราสามารถจะขึ้นๆลงๆได้ 2-4 กิโลกรัม จากเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งข้างบนนี
.
ทีนี้เราจะรู้ได้ยังไงว่าเราอ้วนขึ้นหรือผอมลง ปัจจัยเยอะเหลือเกิน
.
1.วิธีการที่ดีกว่าการชั่งน้ำหนักวิธีหนึ่ง ก็คือ การวัดตัว แม้ว่าจะลดลงครึ่งนิ้วต่ออาทิตย์ ก็เป็นการพัฒนาที่กำลังดีและไม่เร็วเกินไป
.
2. อีกสิ่งหนึ่งที่ควรเอามาวัด ก็คือ พัฒนาการในการออกกำลังกายของเรา ถ้าเราสามารถออกกำลังก่นได้เท่าเดิม หรือดีขึ้นระหว่างที่กำลัง'ระวัง'อาหาร แปลว่า เรากินได้กำลังดีแล้ว แต่ถ้าไม่มีแรงจะออกกำลังกาย นั่นแปลว่า การควบคุมอาหารของเราไม่ได้ผลแล้ว
.
3. การถ่ายรูป ก็เป็นอีกวิธีนึงที่นำมาใช้ได้ดีมาก เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการก่อนหลัง หรือดูว่าอวัยวะส่วนใดที่ยังไม่ลดได้ดีเท่าที่ควร
.
การถ่ายรูป ควรถ่าย 3 รูป คือด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง ควรมีจุดใกล้ไกลประจำที่จดไว้ด้วย จะได้มีระยะห่างเท่ากันทุกรูป ใส่ชุดว่ายน้ำนะคะ เพราะจะได้เห็นชัดเจน และเอาจริงเลยนะคะ ใครๆก็อยากดูดีในชุดว่ายน้ำด้วยแหละค่ะ
.
4. วิธีสุดท้าย อันนี้ชอบมาก คือใช้วิธี "Rolling Average" วิธีการก็คือ ใช้การชั่งน้ำหนัก 3 ครั้ง หมายถึง 3 ช่วงเวลาล่าสุด ไม่ใช่วันละ 3 ครั้งนะคะ แล้วมาหาร 3 หาค่าเฉลี่ย
.
ปกติที่ใช้ก็ควรจะใช้น้ำหนักที่ชั่งในช่วงระยะเวลา 2-3 อาทิตย์จะเป็นอาทิตย์ละครั้งหรืออะไรก็ตามแต่แล้วมาคำนวณค่าเฉลี่ย ให้เวลากับร่างกายในการปรับค่าน้ำหนักขึ้นลงในแต่ละวันตามแต่ปัจจัยที่กระทบค่าน้ำหนักในวันต่อวัน ตามที่เขียนไว้ข้างต้น

ถ้าเป็นไปได้วัดตอนตื่นนอนเวลาเดียวกันทั้ง 3 ครั้งจะดีทีสุดนะคะ

ทำไมถึงไม่ควรชั่งน้ำหนัก!!?

ขอขอบคุณเนื้อหาดีดี จาก  ::  Be fit & Eat well

ทำไมถึงไม่ควรชั่งน้ำหนัก!!?

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์