ลดน้ำหนักแบบผิดปกติ ระวัง! โรคไทรอยด์...?
ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์นั้น มีหลายชนิดด้วยกัน คือ
ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (Hyperthyroidism) คือ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินจนผิดปกติ
อาการ : เหนื่อยง่าย มือสั่น ใจสั่น น้ำหนักลดลง รู้สึกหิวบ่อย รับประทานเก่ง ขับถ่ายบ่อยผิดปกติ ผมร่วง ประจำเดือนมาไม่ปกติ ร้อนง่าย เป็นต้น
วิธีการรักษา : รับประทานยาเพื่อลดฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ การกลืนน้ำแร่ไอโอดีนที่เกาะกับสารรังสี เพื่อทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลงและมีขนาดที่เล็กลง หากมีคอโตมากจนผิดปกติควรทำการผ่าตัด
หากไม่ทำการรักษาจะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย และภาวะน้ำท่วมปอด
ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) เกิดจากต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ หรือมี การอักเสบของต่อมไทรอยด์ ทำให้มีการผลิตฮอร์โมนที่น้อยลง
อาการ : ตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (Hyperthyroidism) คือ น้ำหนักขึ้น เบื่ออาหาร เพลียง่าย ง่วงนอนบ่อย ผิวแห้ง ท้องผูก หนาวง่าย เป็นต้น
วิธีการรักษา : โดยการให้ฮอร์โมนเสริมไทรอยด์ เพื่อให้ฮอร์โมนในร่างกายปรับเข้าสู่ภาวะปกติ
หากไม่ทำการรักษาจะทำให้อ้วนขึ้น มีน้ำในช่องปอดและช่องหัวใจ เนื่องจากเกิดจากการบวมน้ำ
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ หรือเนื้องอกต่อมไทรอยด์ คือ เนื้อเยื่อที่โตผิดปกติ โดยที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน
อาการ : อาจทำให้เสียงแหบ กลืนอาหารหรือของเหลวลำบาก เนื่องจากไทรอยด์มีขนาดที่โตจนไปเบียดอวัยวะแถวลำคอ
วิธีการรักษา : หากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ใหญ่จนเกินไป หรือมีภาวะความเสี่ยงว่าเป็นเนื้อเยื่อไม่ดีควรทำการผ่าตัด หากไม่ทำการรักษาอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) เกิดจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย
อาการ : เจ็บที่บริเวณต่อมไทรอยด์ อาจมีก้อนเนื้อหรือไม่มีก็ได้ มีไข้ขึ้น
วิธีการรักษา : รับประทานยาเพื่อลดอาการอักเสบ
วิธีการตรวจหาโรคไทรอยด์เบื้องต้นตรวจคลำหาต่อมไทรอยด์ ว่าต่อมไทรอยด์มีความโตผิดปกติไหม
ตรวจว่าภาวะตาโปนหรือตาบวม
ตรวจอาการมือสั่น
ตรวจชีพจรว่ามีภาวะผิดปกติไหม
ตรวจผลเลือดเพื่อดูไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกายกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็น "โรคไทรอยด์"
พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไทรอยด์
การสูบบุหรี่
การดื่มแอลกอฮอลล์
อดหลับ อดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอบ่อย ๆ
มีภาวะความเครียดสูง