ไขมันที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะสมอง จะป้องกันการจับแข็งตัวของไขมันในเส้นเลือด วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะควบคุมการทำงานของร่างกายให้ทำหน้าที่ได้ตามปกติ และ นอกจากนี้ไขมันที่มีในเนื้อปลานั้นยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น โอเมกา 3,โอเมกา 6 แถมยังมีแร่ธาติ, วิตมินและสารอาหารมากมาย อีกด้วย
ปริมาณไขมันที่อยู่ในเนื้อปลา
ปลาที่มีไขมันสูง (มากกว่า 8 - 20 กรัมต่อ 100 กรัม) คือ ปลาช่อน ปลาสวาย ปลาดุก และปลาสำลี
ปลาที่มีไขมันปานกลาง (มากกว่า 4 -5 กรัมต่อ 100 กรัม) คือ ปลาสลิด ปลาตะเพียน และปลาจาระเม็ดขาว
ปลาที่มีไขมันต่ำ (มากกว่า 2 -4 กรัมต่อ 100 กรัม) คือ ปลาทูนึ่ง ปลากระพงขาว ปลาจาระเม็ดดำ และปลาอินทรี
ปลาที่มีไขมันอยู่น้อย (ไม่เกิน 2 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาไหล ปลากราย ปลานิล ปลากระพงแดง และปลาเก๋า
ปลาทะเลที่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูง
ปลาทู ปลาแซลมอน ปลาโอ ปลาอินทรีย์ ปลาทูน่า ปลากระพง ปลาดุกทะเล เป็นต้น แต่หลายๆคนคงบ่นว่าปลาทะเลมันแพงอยากไดัปลาราคาประหยัดที่หาซื้อง่ายในตลาดบ้านเรา ซึ่งความจริงในบ้านเราก็มีปลาน้ำจืดและปลาน้ำเต็มที่มีปริมาณโอเมก้า 3 ไม่แพ้ปลาทะเลเลยทีเดียว ดีไม่ดีอาจจะเยอะกว่าปลาทะเลจากต่างแดนเสียอีก ปริมาณโอเมก้าในที่นี้คือปริมาณต่อปริมาณเนื้อปลา 100 กรัม ได้แก่
ปลาสวายขาว ปลาน้ำจืดของไทย มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัม
ปลาทู ปลาทะเลไทยที่หาทานได้ง่ายที่สุด มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงถึง 2,000-3,000 มิลลิกรัม
ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่มีโอเมก้า 3 ค่อนข้างสูงเช่นกัน มีประมาณ 870 มิลลิกรัม
ปลากระพงขาว ปลาทะเลไทย มีโอเมก้า 3 ประมาณ 310 มิลลิกรัม
ซึ่งสำหรับผู้ที่แพ้อาหารทะเลการรับประทานปลาน้ำจืดก็เป็นทางเลือกที่ดีที่จะได้รับคุณค่าทางอาหารจากปลาไม่ต่างจากปลาทะเล แต่สิ่งที่ต้องระวังคือควรเลือกและเปลี่ยนชนิดปลาไปเรื่อยๆเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างจากปลาเลี้ยงและควรมั่นใจว่าเนื้อปลาที่ทานจะต้องปรุงสุก เพื่อป้องกันพยาธิที่มักพบบ่อยในปลาน้ำจืด
ดูดีมีประโยชน์ซะขนาดนี้ทานไปเยอะๆได้ไม่น่าจะมีปัญหามีปัญาหรือเปล่า?
แต่ว่าเดี๋ยวก่อนประโยชน์ของปลาตรงจุดนี้มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องความอ้วนแม้แต่น้อย เพราะเรื่องความอ้วนนั้น เป็นผลมาจากพลังงานที่ร่างกายได้รับและพลังงานที่ร่างกายใช้ไป ไม่ได้เกี่ยวกับชนิดของไขมันที่ได้รับแต่อย่างใด แต่ที่เชื่อกันว่ากินปลาแล้วจะผอม เป็นเพราะในเนื้อปลา เมื่อเทียบเป็นน้ำหนักที่เท่าๆ กันกับเนื้อสัตว์อื่นๆ จะมีส่วนของโปรตีนค่อนสูงและมีไขมันค่อนข้างน้อยดังนั้น พูดง่ายๆ ว่าถ้าหากกินปลาเทียบกับกินเนื้ออื่นๆ ในปริมาณเท่ากัน เนื้อปลาก็จะให้พลังงานกับร่างกายน้อยกว่า ได้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารมากกว่า
แต่เถ้าคุณกินเปลาเข้าไปมากๆ จนเกินความจำเป็นของร่างกาย แถมทานอย่างอื่นร่วด้วย หรือ ใช้วิธีการปรุงที่ผิด คุณก็มีโอกาสอ้วนได้เช่นเดียวกับการทานอาหารชนิดอื่น ดังนั้นการเตรียมเนื้อปลาเพื่อสุขภาพควนใส่ใจในวิธีการปรุงด้วยเช่นกัน ควรเลือกการปรุงโดยการ ต้ม นิ่ง ลวก เผา จะดีกว่าการนำมา ทอดและผัด นั้นเอง
ควรรับประทานปลาปริมาณเท่าไรถึงจะพอดี
ในแต่ละวันคนเราใน วัยทำงานจะต้องการโปรตีนวันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ถ้ามีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะต้องการโปรตีนวันละ 50 กรัม เป็นต้น ปริมาณโปรตีนในเนื้อปลาสุกมีค่าอยู่ระหว่าง 16-30 กรัมต่อ 100 กรัม (หรือ 9 -17 กรัมต่อ 1/3 ถ้วยตวง) ดังนั้นคนที่หนัก 50 กิโลกรัม แล้วต้องการโปรตีนจากปลาเพียงอย่างเดียวก็คงต้องรับประทานจำนวนเพิ่มขึ้น เกือบ 2 เท่าตัว ปกติปลามีส่วนที่รับประทานได้ประมาณร้อยละ 55-80 ในบรรดาปลาชนิดต่างๆ แนะนำว่าปลาสลิดตากแห้ง มีโปรตีนมากกว่าชนิดอื่น เมื่อเทียบกับแหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ปลาดิบ ปลาต้ม และปลานึ่งทุกชนิดมีไขมันและพลังงานต่ำ ซึ่งปลาย่างและปลาทอดจะมีไขมันและพลังงานสูงกว่าอีกหน่อย