อย่าชะล่าใจ…คิดว่าหุ่นกำลังดี ความจริงที่แท้ของคนที่ “ผอมแต่มีพุง” …!!!
หน้าแรกTeeNee ไม่หมู ความเชื่อผิด ๆ ลดน้ำหนัก อย่าชะล่าใจ…คิดว่าหุ่นกำลังดี ความจริงที่แท้ของคนที่ “ผอมแต่มีพุง” …!!!
หลายๆคนมักจะโฟกัสการมีหุ่นที่ตัวเลขบนตราชั่ง และรูปร่างสมส่วนสวยงาม และมักคิดว่า การมีพุงนั้น เป็นเรื่องธรรมดา ที่ใครๆก็มีกันทั้งนั้น แต่ ขอบอกว่า คุณกำลังคิดผิด
เพราะการมีพุงติดตัวนั้น บ่งบอกได้ว่าคุณเป็นคนไม่ค่อยได้ออกกำลังกายสักเท่าไหร่ หรือออกกำลังกาย แต่ไม่เคยวิดพื้น หรือยกดัมเบล ถ้าคุณผอมแต่มีพุง ก็ไม่ต่างจากอะไรจากคนอ้วนคนหนึ่ง ซึ่งก็มีความเสี่ยงด้านสุขภาพติดตัวอยู่ด้วย ดังนั้นคุณควรจะต้องหาวิธีในการออกกำลังกายแบบลดพุงให้ตัวเองแล้วล่ะ…
1. คุณมีมัฟฟิน ท็อป ติดอยู่ที่เอว
มัฟฟิน ท็อป (Muffin top) คือ เนื้อที่ปลิ้นออกมาตรงช่วงรอบเอว ดูแล้วเหมือนคนสวมห่วงยางติดตัวตลอดเวลา ซึ่งการศึกษาจาก Annals of Internal Medicine ก็เตือนว่า คนที่มีภาวะน้ำหนักตัวโดยรวมเป็นปกติ แต่มีไขมันส่วนเกินสะสมที่ช่วงเอวแบบนี้ มีแนวโน้มอันตรายต่อสุขภาพถึงขั้นเสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่าคนที่อ้วนแบบเห็นกันจะจะ หรือเป็นคนที่รู้ชัดจากลักษณะภายนอกว่ามีน้ำหนักตัวเกินซะด้วยซ้ำ
เห็นไหมล่ะ บอกว่าแล้วว่าถึงตัวจะผอมก็อย่าชะล่าใจ ผอมแต่มีพุงก็อันตรายใช่ย่อยนะจ๊ะ
2. ออกกำลังกายประจำ แต่ไม่เคยทำท่าวิดพื้น !
โดยปกติคนที่คิดว่าตัวเองมีรูปร่างดีอยู่แล้ว ก็มักจะออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการทำงานหัวใจ เน้นหนักไปทางคาร์ดิโอ อย่างการปั่นจักรยาน การวิ่ง ซึ่งก็มีผลทำให้หัวใจและปอดเฮลธ์ตี้ แต่กล้ามเนื้อและไขมันสะสมในชั้นกล้ามเนื้อไม่ได้ถูกเบิร์นไปมากสักเท่าไร เพราะไม่เคยสนใจจะฟิตกล้ามเนื้อด้วยการวิดพื้น หรือเวท เทรนนิ่งอื่น ๆ เลย ซึ่งนั่นอาจทำให้พลาดการกระตุ้นระบบเผาผลาญ และการเบิร์นไขมันอันตราย จนทำให้มีรูปร่างผอมแต่มีพุง ดูไม่กระชับ
3. ควบคุมน้ำหนักอยู่ตลอด แต่กลับไม่ออกกำลังกาย
รูปร่างผอม สมส่วน ไม่ใช่เหตุผลที่เราจะงดเว้นการออกกำลังกายได้หรอกนะคะ โดยเฉพาะคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งล้วนเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมกันได้ และแน่นอนว่าแม้จะผอม น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็ยังแบกความเสี่ยงไว้อยู่ตลอด ยิ่งหากเป็นคนที่แค่คุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกิน แต่ไม่ค่อยจะขยันออกกำลังกายเลย พุงที่ยื่นมานิด ๆ นั่นล่ะคือความเสี่ยงของสารพัดโรคที่คุณแบกไว้อยู่
4. ติดกินอาหารไม่มีประโยชน์
น้ำหวาน ขนม ฟาสต์ฟู้ด บุฟเฟ่ต์ปิ้งย่าง ถ้าเป็นสไตล์การรับประทานอาหารที่คุณโปรดปราน ก็ไม่น่าแปลกใจหากคุณจะเป็นคนผอมแต่มีพุง นอกจากนี้พฤติกรรมอดอาหาร ข้ามมื้ออาหาร หรือเป็นคนคลั่งกินคลีน ก็ล้วนแล้วแต่จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะผอมแต่มีพุง และอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ตามมาได้ ไม่ต่างจากคนอ้วน ๆ เลย
5. โฟกัสแต่ตัวเลขน้ำหนักบนตาชั่ง
หลายคนโฟกัสแต่เลขน้ำหนักตัวบนตาชั่ง ซึ่งแปลได้ว่าคุณกำลังหลงประเด็นอยู่ เพราะการออกกำลังและฟิตกล้ามเนื้อให้มีสุขภาพดี ควรโฟกัสที่รูปร่างของเรามากกว่า เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายเบิร์นไขมัน แล้วเปลี่ยนเป็นมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งนั่นอาจทำให้น้ำหนักตัวเราไม่ลดลงสักเท่าไร หรือบางคนยิ่งออกกำลังกายยิ่งมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นด้วย ทว่าหากแลกกับรูปร่างลีน ๆ ฟิต ๆ ไม่ใช่รูปร่างผอมแต่มีพุง ก็ถือว่าคุ้มเกินคุ้มนะจ๊ะ
6. คิดว่าค่า BMI ดี ชีวิตก็ดีด้วย
ค่า BMI หรือดัชนีมวลกายบางทีก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดสุขภาพที่ดีเสมอไป ดังการศึกษาจาก McMaster University เมื่อปี 2011 ที่บ่งชี้ว่า ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ชาวอินเดียและชาวจีน) มีไขมันสะสมในอวัยวะภายในค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับกลุ่มคนผิวขาวที่มีค่า BMI เฉลี่ยเท่า ๆ กัน ซึ่งนักวิจัยอธิบายว่า นอกจากจะมีปัจจัยในเรื่องยีนที่ส่งผลต่อการสะสมไขมันในร่างกายแล้ว ยังมีปัจจัยด้านวัฒนธรรมการรับประทานอาหารมาเกี่ยวข้องด้วย
แต่ไม่ว่าเราจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ทว่าหากสามารถควบคุมอาหารได้ดี รับประทานแต่เฮลธ์ตี้ฟู้ด และขยันออกกำลังกาย สุขภาพร่างกายเราก็จะดีได้ ไม่ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงใดก็ตาม
หากก้มลงมองที่หน้าท้องแล้วเห็นพุงกะทิยื่นออกมานิด ๆ ก็ไม่ควรชะล่าใจแล้วนะคะ เอาเป็นว่ามาออกกำลังกายลดพุงกันดีกว่า ตามวิธีลดพุงเหล่านี้เลย จัดไป !
ที่มา รักยิ้ม
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!