เป็นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นใน หลั่งออกมาเมื่อระบบประสาทอัตโนมัติชนิดซิมพาทีติก (SNS) ถูกกระตุ้น ซึ่งเกิดจากภาวะตื่นเต้นตกใจ หรือ ภาวะที่เพิ่มความเครียดให้กับร่างกายและจิตใจแบบเฉียบพลัน ฮอร์โมนตัวนี้ถือว่ามีบทบาทมากที่สุดในการสลายเซลล์ไขมัน และเพิ่มการสร้างน้ำตาลกลูโคสจากไขมันที่สะสมไว้อีกด้วย ยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นตัวเร่งการเก็บสะสมไขมัน
การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เป็นการกระตุ้นการทำงานของอะดรีนาลีนได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามควรออกในระดับความเข้มข้นเบาถึงปานกลางเท่านั้น (Mild to Moderate Intensity of exercise)
.
[2] Thyroid_Hormone (ไทรอยด์ฮอร์โมน) -
เพราะไทรอยด์ฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกเซลล์ในร่างกาย ควบคุมระบบการเผาผลาญของสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยทำให้เซลลืไขมันไวต่ออะดรีนาลีนมากขึ้นทำให้สามารถดึงเอาไขมันที่สะสมในร่างกายออกมาเบิร์นได้ดี การทำหน้าที่ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องอาศัยการทำงานที่สมดุลของไทรอยด์ฮอร์โมน โดยเฉพาะตัวที่ออกฤทธิ์ คือ Free T3 hormone (Metabolically active form)
โดยทั่วไป หากเราทานอาหารครบถ้วน 5 หมู่ตามปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฮอร์โมนไทรอยด์ก็ทำหน้าที่ได้ตามปกติ แต่การเสริมการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์สามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ บี 1 2 6 12 เบต้าแครอทีนมาก รวมถึงเเร่ธาตุอย่างไอโอดีน ซีรีเนี่ยม สังกะสี เป็นต้น
.
[3] Growth_Hormone (โกรทฮอร์โมน) -
สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่หลัก ๆ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกายในส่วนของกระดูก กล้ามเนื้อ และอวัยวะภายในต่าง ๆ และช่วยในการซ่อมเเซมเซลล์ที่เสื่อมหรือสึกหรอในร่างกาย บทบาทของโกรทฮอร์โทนเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก คือ กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย (Lipolysis) และการกระตุ้นการสร้างฮอร์โมน FT3 ให้เป็นไปตามกลไกปกติของร่างกายนั่นเอง
บู้ท Growth hormone (GH) ได้ด้วย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่านอนดึก ทานอาหารให้ได้สัดส่วนที่เหมาะ เน้นกลุ่มโปรตีน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เน้นเวทเทรนนิ่งในระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยนะครับ ส่วนอาหารเสริม เสริมเป็นกลุ่มกรดอะมิโน เวย์โปรตีนด้วยก็ดีครับ
ฮอร์โมนที่เราคุ้นหูกันดีในฐานะฮอร์โมนเพศชาย แต่อย่างที่ทราบกันเเล้วว่าเป็นฮอร์โมนที่มีอยู่ในทั้งเพศหญิงและเพศชาย บทบาทอื่น ๆ นอกจากการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและลักษณะของการแสดงออกทางเพศแล้ว #เทสโทสเทอโรนยังเป็นอีกหนึ่งฮอร์โมนที่ช่วยในการเผาผลาญไขมันได้อีกด้วย โดยที่ช่วยเพิ่มระดับการเผาผลาญของร่างกายให้ดีขึ้น (Basal metabolic rate) ช่วยกระตุ้นการพัฒนาของมวลกล้ามเนื้อ (Muscle mass) ทำให้ระดับการเผาผลาญของร่างกายดีขึ้น และช่วยยับยั้งการเพิ่มขึ้นใหม่ของเซลล์ไขมันได้อีกด้วย (Inhibit fat cells production)
.[5] DHEA (ดีเอชอีเอ) -
ชื่อเต็มๆ คือ Dehydroepiandrosterone เป็นฮอร์โมนชนิดสเตอรอยด์ที่มีมากที่สุดในร่างกาย ผลิตมาจากต่อมหมวกไต ต่อมเพศ (Testes and Ovaries) และสมองได้ในปริมาณเล็กน้อย หน้าที่หลัก ๆ คือ เป็นเหมือนฮอร์โมนตัวกลาง (Intermediate hormone) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนและเอสโตรเจนได้ นอกจากนี้ตัว DHEA เองก็ยังสามารถออกฤทธิ์ได้ด้วยตัวมันเองอีกด้วย สำหรับกลไกของการสลายไขมันของ DHEA นั้นมีอยู่หลายกลไก ได้แก่ การเพิ่มระดับการเผาผลาญของร่างกายจากการเพิ่มปริมาณของ Brown adipose tissues (BAT) ซึ่งเป็นไขมันที่ช่วยเพิ่มระดับการเผาผลาญของร่างกาย เราเรียกกระบวนการนี้ว่า Thermogenesis และยับยั้งการเพิ่มจำนวนหรือการเปลี่ยนแปลงขนาดของเซลล์ไขมัน เป็นต้น
DHEA เป็นฮอร์โมนที่สัมพันธ์กับความเครียด (Stress) ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางจิตใจก็ตาม เพราะมีผลเชื่อมโยงกันระหว่าง สมอง ระบบประสาทและต่อมหมวกไต (HPA axis) นั่นเอง การใช้ชีวิตอย่างไรให้ DHEA สมดุล ? อ่านได้ในตอนที่หมอเล่าให้ฟังมาเเล้วในเพจได้เลยครับ
.
[6] #Progesterone (โปรเจสเทอโรน) -
เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ (Ovaries - ส่วนที่เรียกว่า Corpus luteum) ของเพศหญิงเป็นหลัก จึงได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนเพศหญิง อย่างไรก็ตามเราพบว่าผู้ชายก็มีฮอร์โมนชนิดนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งสร้างได้จากบริเวณต่อมหมวกไตชั้นนอก เพียงเเต่พบน้อยกว่า (สลับกันกับเทสโทสเทอโรนที่ผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิง) บทบาทของโปรเจสเทอโรนในการลดน้ำหนัก สลายไขมันนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ได้แก่ ทำงานสมดุลกับเอสโตรเจนไม่ให้เกิดภาวะเอสโตรเจนทำงานเด่น (Estrogen dominant) ซึ่งจะทำให้ร่างกายสะสมไขมันได้ง่าย ลดภาวะการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งทำให้ร่างกายสะสมไขมันเพิ่มขึ้นและเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ เสริมการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมน และยังป้องกันการเกิดภาวะบวมน้ำ (Fluid retention) ได้อีกด้วย
โปรเจสเทอโรนมักเป็นฮอร์โมนที่พบว่าต่ำได้บ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยใกล้หมด หรือ วัยหมดประจำเดือนไปแล้ว ซึ่งเราพบว่าช่วงวัยนี้มักจะมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนได้ง่าย ก็เนื่องมาจากเหตุผลข้างต้น การปรับฮอร์โมนให้สมดุลนอกจาการใช้ชีวิตแบบสุขภาพดีแล้ว ควรได้รับคำปรึกษาและการรักษาจากเเพทย์ด้วยนะครับ
.
จะเห็นว่า #ต้นตอของโรคอ้วนส่วนมากมาจากฮอร์โมนทำงานไม่สมดุล น้อยไปบ้าง มากไปบ้าง Key ของการลดน้ำหนักแบบสุขภาพดีและยั่งยืน จึงควรเริ่มต้นมาจากการสืบหาต้นตอและสาเหตุจากฮอร์โมนต่าง ๆ เหล่านี้ ร่วมกับปัญหาอื่น ๆ (ที่หมอพูดถึงไปแล้วในตอนสาเหตุโรคอ้วน) ดังนั้น #การตรวจวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนตามความเหมาะสมในแต่ละบุคคล จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวางแผนลดน้ำหนักแบบสุขภาพดี ชะลอโรค ชะลอวัย นั่นเอง
.
.