1 ปี เรากินน้ำมันจากของทอดเข้าไปเท่าไหร่?
ร่างกายต้องการเท่าไหร่ และ ปีนึงเรากินของทอดมากไปแค่ไหน
Thai Recommended Daily Intakes (Thai RDI) แนะนำให้คนที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ควรบริโภคไขมัน คิดเป็น 30% ของพลังงานรวมที่ร่างกายต้องการ (ราวๆ 600 กิโลแคลอรี่ หากคำนวณจากค่าเฉลี่ยที่ 2000 กิโลแคลอรี่ ) ไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่ชอบของทอดลองคำนวณดู
ดังนั้น ปริมาณที่ควรบริโภคไขมันจะเท่ากับ 66.6 กรัมต่อวัน (น้ำหนักสารอาหาร) เมื่อเทียบกับ พลังงานของเมนูอาหารว่างในกลุ่มของทอดยอดฮิต เช่น มันฝรั่งทอด ไก่-เนื้อปลาชุบแป้งทอด ไข่ดาว ไข่เจียว ฮ่อยจ๊อทอด เปาะเปี๊ยะทอด ทอดมันกุ้ง จะให้พลังงานอยู่ประมาณ 400-600 kcal ต่อ 100 กรัมหากลองมานั่งคำนวณเล่นๆ ถ้าเรารับประทานของทอดเพียงวันละครั้ง ครั้งละ 200 กรัม ( ซึ่งน่าจะมากกว่านั้น ) วันนึงเราจะได้รับพลังงานจากเมนูทอด ไปถึง 800 kcal เมื่อทานติดต่อกันเป็นกิจวัตร 1 เดือน จะได้รับพลังงานไปถึง 24,000 kcal ต่อเดือนเลยทีเดียว นี่ยังไม่นับรวมพลังงานจากอาหารในหมวดอื่นๆ
ถ้าเป็นไปตามการคำนวณนี้ ปีนึง เราจะได้รับพลังงานจากของทอดสุดโปรดไปแบบเน้นๆ ที่ 288,000 kcal ถ้าเทียบกับปริมาณที่แนะนำคือ 400 kcal x 30 วัน x 12 เดือน = 144,000 kcal ต่อปีเท่านั้น เมื่อมองดูปริมาณตัวเลขเปรียบเทียบดูแล้วช่างน่าตกใจไม่น้อยเลยใช่ไหม
ของทอดนอกบ้าน
แต่ทว่าความน่ากลัวของพลังงานที่ได้รับ ยังไม่น่ากลัวเท่ากับภัยเงียบที่แฝงมากับของทอด ที่ใช้น้ำมันเก่ากลับมาทอดซ้ำการใช้น้ำมันทอดซ้ำไม่ดีอย่างไร
การใช้น้ำมันทอดซ้ำถือเป็นภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวเรา เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งโดยปรกติแล้ว การใช้น้ำมันทอดอาหารเพียง 1-2 ครั้ง ก็ทำให้น้ำมันเสื่อมคุณภาพลงแล้ว เนื่องจากในระหว่างการทอดอาหาร ความร้อนที่สูงมากๆ จะทำให้น้ำมันแตกตัว และแปลสภาพ ทำให้เกิดสารที่ชื่อว่า "โพลาร์", "อะคริลลาไมด์" และ "ไขมันทรานส์" ขึ้น ยิ่งทอดซ้ำมากครั้งเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้น้ำมันนั้นมีสารทั้ง 3 ตัวนี้มากขึ้นเท่านั้นหากมีการสะสมสารดังกล่าวในร่างกายในปริมาณมาก และเป็นระยะเวลานานๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ทั้งโรคหัวใจ ความดันโลหิต เนื้องอกตามอวัยวะต่าง เช่น ตับ ปอด เสี่ยงกับการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดมาตรฐานให้ร้านค้าที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ หมั่นตรวจเช็คน้ำมัน ให้มีสารโพลาร์ ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ต่อน้ำหนักน้ำมันที่ใช้เท่านั้น (หรือประมาณ 25 กรัม ต่อน้ำมัน 100 กรัม) เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
วิธีการสังเกตน้ำมันทอดซ้ำ
สำหรับคนที่ชอบทานของทอดจากร้านนอกบ้าน ก่อนสั่งเมนูโปรดควรสังเกตน้ำมันในกระทะทอดซักนิด หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารจากร้านที่ใช้น้ำมันที่มีกลิ่นหืน มีสีดำ หรือสีคล้ำ น้ำมันที่มีลักษณะข้นเหนียว หรือเกิดฟองเวลาทอดมากๆ เกิดควันเวลาทอด หรือมีคราบไหม้ หรือ เศษอาหารไหม้ปะปนอยู่ในน้ำมันทอด และก่อนรับประทานของทอดทุกครั้ง ควรใช้กระดาษสำหรับซับมันอาหาร ซับน้ำมันบนอาหารเสียก่อน เพื่อลดปริมาณน้ำมันทอดที่ติดมากับชิ้นอาหารอยากจะฟิตแต่ติดของทอด
ใช่ว่าของทอด จะเป็นของแสลงของคนไดเอท เป็นของต้องห้ามที่ทานไม่ได้ซะทีเดียว ความจริงถ้าบริหารจัดการเรื่องพลังงาน และดูแลโภชนาการของอาหารในแต่ละวันดีๆ ก็สามารถทานของทอดได้เป็นครั้งคราว หรือ จัดให้เมนูของทอดจานเลิฟ ไว้เป็นอาหารที่ทานนานๆ ครั้ง และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ยังทานของทอดได้อย่างสบายใจขึ้น แต่สำหรับคนที่รักการทานของทอดเป็นชีวิตจิตใจ แต่กังวลเรื่องน้ำหนักตัว และเป็นห่วงเรื่องสุขภาพ แถมไม่อยากกินแล้วกลับมาออกกกำลังชดเขยเยอะๆ ลองใช้เทคนิคในการเลือกทานของทอดนี้ดูเลือกทานอาหารที่ไม่ชุบแป้งก่อนแล้วนำไปทอด เนื่องจากแป้งที่เคลือบอยู่นั้น เป็นตัวกักเก็บน้ำมัน ทำให้อาหารชุบแป้งทอดอมน้ำมัน และมีปริมาณน้ำมันสะสมอยู่ในอาหารสูงกว่าอาหารที่ไม่ชุบแป้ง
หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ต้องอาศัยการทอดเพื่อทำให้อาหารฟู อย่าง ไข่เจียว ไข่ดาว ปลาดุกฟู ข้าวเกรียบ ข้าวพอง(ข้าวแต๋น)ชนิดทอด เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีความเบา และฟู เมื่อทอดแล้วจะมีฟองอากาศมาก จึงทำให้มีการสะสมน้ำมันในตัวเนื้ออาหารสูง
ใช้การทอดแบบ Pan-fried หรือการทอดแบบน้ำมันน้อย แทนการทอดอาหารแบบ Deep Fried การทอดแบบ Pan-fried จะเป็นการทอดโดยนำอาหารไปนาบลงบนกระทะ จะใช้ปริมาณน้ำมันน้อยกว่า ทำให้ปริมาณน้ำมันซึมเข้าในอาหารน้อยกว่า การทอดอาหารแบบ Deep Fried ที่จะใช้ปริมาณน้ำมันท่วมอาหาร
ใช้ การทอดอาหารด้วยหม้อทอดอากาศแบบไม่ต้องเติมน้ำมัน สำหรับใครที่ติดใจรสชาติอาหารทอด แต่รักสุขภาพ กำลังตั้งอกตั้งใจกับการไดเอทมากๆ หรือกังวลเรื่องน้ำมันจากการทอด