ลดน้ำหนักด้วยการหลอกร่างกายและกระตุ้นการเผาผลาญ
ผู้หญิงมีการเผาผลาญที่ประมาณ 1,500 แคลอรี่ แต่พอไปอดข้าวเย็น น้ำหนักจะลดได้ไม่กี่สัปดาห์ แต่สักพักจะนิ่งจากการเผาผลาญที่ลดลง เพราะสมองตีความว่าอาหารมีไม่พอ
บางทีอยากลดเพิ่ม ก็กินน้อยลงไปอีก (เคยอ่านเจอในพันทิปกินเหลือวันละ 600 แคล คือพีคมาก) คราวนี้ร่างกายจะไม่ใช่แค่ลด แต่จะ "สลับโหมด" เป็นสะสมพลังงาน หรือเรียกว่าโหมดเอาชีวิตรอด (ร่างกายไม่รู้ว่าที่อาหารน้อยเพราะจะลดน้ำหนัก แต่นึกว่าอาจกำลังติดเกาะ เลยต้องเซฟพลังงานให้นานที่สุด)
พอเปลี่ยนโหมดแล้ว ไม่ว่ากินน้อยแค่ไหนน้ำหนักก็จะคงที่ ก็เลยไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องทรมานตัวเองที่จะต้องอดมื้อกินมื้อ และกลับมากิน "แบบปกติ"
แต่การเผาผลาญ "ไม่ปกติ" ไปซะแล้วเพราะโดนสลับโหมด พอกลับมาทาน 2,000 แคลอรี่แต่ร่างกายเบิร์น 600 เลยมีพลังงานส่วนเกินเยอะมาก น้ำหนักจึงเพิ่มกลับอย่างรวดเร็ว (เรียกว่าโยโย่)
ร่างกายไม่ได้ทำตามต้องการ 100% แต่ดูจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งถ้าเข้าใจจะสามารถ "หลอกร่างกาย" ไม่ให้ลดการเผาผลาญและเพิ่มการเบิร์นได้อีกด้วย ไปดูวิธีกันครับ
1 เปลี่ยนกลุ่มอาหาร
เอาคาร์บออกเพื่อบังคับร่างกายให้เบิร์นได้มากที่สุด แล้วเพิ่มโปรตีนกับผัก
2 ห้ามลดปริมาณ
เคยกินแค่ไหนก็กินแค่นั้น มิฉะนั้นร่างกายจะลดการเผาผลาญตามไปด้วย
ที่บอก "กินแค่ไหน" คือ "แค่ไหน?"
อย่างผมเองใช้วิธีนับแคลอรี่แล้วนอยมาก ทั้งคอยจำ คอยกะ หรือไม่รู้ว่าแม่ค้าใส่อะไรมาให้กินบ้าง ตอนนั้นเลยไม่ได้ผลเพราะไม่ได้ทำต่อเนื่อง
จนมารู้ทีหลังว่า ถ้าเปลี่ยนกลุ่มอาหารแล้วสามารถทานได้เต็มที่ ก็เลยถึงบางอ้อ
คำว่า "แค่ไหน" ของสูตรนี้ คือให้ทานจนอิ่ม
อย่าไปสับสนกับวิธีนับแคล ทั้งงดคาร์บและกินน้อยด้วย (กลัวกินเยอะเดี๋ยวอ้วน) คือทานให้อิ่มไปเลยไม่ต้องกลัว
เพราะ "ระดับแคลอรี่" จะสวิงขึ้นอยู่กับกิจกรรม สมมุติวันจันทร์ตื่นแต่เช้าไปทำงาน, ไปพบลูกค้า หรือเย็นไปฟิตเนสก็จะใช้พลังงานมากหน่อย, เสาร์เคลียร์งานในออฟฟิศ หรือวันอาทิตย์ตื่นสิบโมงสโลว์ไลฟ์อยู่แต่ในบ้าน ก็จะใช้แคลอรี่ต่างกัน
สูตรนับแคลที่ให้คำนวณเฉพาะส่วนสูงกับน้ำหนัก ผมเลยไม่เคยอิน
แต่ถ้าเปลี่ยนมาโฟกัสที่ความหิวอันนี้คือ "คนละเรื่อง"
ความหิวคือสัญญาณที่เที่ยงตรง เพราะประมวลผลทั้งจากอายุ, น้ำหนัก, กระบวนการเคมี และการใช้พลังงานในขณะนั้น
หิวแค่ไหนก็ทานให้ balance ง่ายๆ แค่นี้ ร่างกายเค้าคิดมาให้หมดแล้ว
มี comments เยอะว่า งดแป้งไม่ดีเดี๋ยวโยโย่หรือไม่มีแรง ฯลฯ
ก็เลยอยากทำความเข้าใจว่า วิธีนี้ไม่ใช่ "งด" แต่เป็นการ "ลด" การรับพลังงานให้สมดุล (ถ้าไม่ทำอะไร น้ำหนักจะค่อยๆ เพิ่มตามอายุ เพราะการเผาผลาญเสื่อมลง ซึ่งเป็นธรรมชาติและไปห้ามอะไรไม่ได้ เหมือนที่หยุดแก่ไม่ได้)
คุณหมอโคอิชิโร่ ฟุจิตะ เขียนในหนังสือ "หยุดแก่แค่เลิกกินแป้ง" ด้วยซ้ำว่าพออายุ 50 ให้งดแป้งถาวร ซึ่งร่างกายก็จะมีกระบวนการเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน ช่วยให้อายุยืนและไม่ป่วยน้อยลงด้วยซ้ำ
แต่วิธีที่แนะนำในวันนี้ ยังมีชีทเดย์สัปดาห์ละครั้งเพื่อกระตุ้นน้ำตาล เหมือนเป็นการบอกว่า, "ไม่ได้กำลังคุมอาหาร" วิธีนี้จึงใช้ได้เรื่อยๆ ไม่ต้องกลัวน้ำหนักจะนิ่ง เพราะการเผาผลาญที่ไม่ลดลงในระยะยาว
และนี่คือวิธี "หลอกร่างกาย" ให้ผอม และกระตุ้นการเผาผลาญไปพร้อมกันครับ